ประเพณีครั้งโบราณ ฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่ อีสานมีการนับถือประเพณีอย่างเคร่งครัดมาแต่ครั้งโบราณ และเป็นประเพณีของท้องถิ่นสืบมาหลายร้อยปี เรื่องฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่ เป็นเรื่องทางศาสนา จึงน่าจะนับถือกันมาตั้งแต่ครั้งวัฒนธรรมอินเดียเข้าสู่บริเวณนี้แล้ว เรียกสั้นๆว่า ฮีต-คลอง หรือถ้าจะเรียกให้เป็นแบบชาวบ้านแท้ก็ว่า" เปิงบ้านเปิงเมือง" เรื่องฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่นี้ มีผู้สูงอายุหลายท่านกล่าวไว้คล้ายๆกัน จะต่างบ้างก็เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะครั้งโบราณด้านหนังสือยังไม่เจริญ อาศัยการบอกเล่าจดจำกันมาเป็นส่วนใหญ่ ที่เขียนไว้นั้นเป็นส่วนน้อย
ฮีตสิบสอง เดือนอ้ายเป็นระยะอากาศหนาวชาวบ้านจะจัดสถานที่แล้วนิมนต์พระสงฆ์เข้ากรรมการเข้ากรรมของพระนั้นคือการเข้าอยู่ประพฤติวัตรโดยเคร่งครัดชั่วระยะหนึ่งในป่าหรือป่าช้าการอยู่กรรมเรียกตามบาลีว่า"ปริวาส" เพื่อชำระจิตใจที่มัวหมองปลดเปลืองอาบัติสังฆาทิเสสซึ่งเป็นอาบัติหนักเป็นที่ 2 รองจากปาราชิกฝ่ายชาวบ้านก็ได้ทำบุญในโอกาสนั้นด้วย "เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่ายฝูงหมุ่สังฆเจ้าเตรียมเข้าอยู่กรรม"
![]() เดือนยี่ทำบุญคูณลานคือเก็บเกี่ยวแล้วขนข้าวขึ้นสู่ลานนวดข้าวแล้ทำข้าวเปลือกให้เป็นกองสูงเหมือนจอมปลวกเรียกว่า "กุ้มเข้า" เหมือนก่อเจดีย์ทรายนั่นเองแล้วทำพิธีบวงสรวงเจ้าแม่โภสพนิมนต์มาสวดมนต์ทำบุญลานบางคนก็เทศน์เรื่องนางโภสพฉลองบางคนก็มีพิธีสู่ขวัญข้าวก่อนจึงจะขนข้าวขึ้นสู่ยุ้งฉางเสร็จแล้วก็ทำพิธีเลี้ยงเจ้าที่หรือตาแฮกและเก็บฟืนไว้เพื่อหุงต้มอาหารต่อไป
"พอเมื่อเดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิงให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้" เดือนสามทำบุญข้าวจี่วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชารุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำก็ถวายข้าวจี่เรียกว่าวันทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชานั่นเองข้าวจี่คือเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่างเมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียวเสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้าส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืดพอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียกหัวแจก) นิมนต์พระเณรสวดแล้วฉันเป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้านเพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนานมีคำพังเพยอีสานว่า
"เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา" เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าวคือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้านสวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธีคือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง "เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ไปถวายสงฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ" ![]() เดือนสี่ทำบุญมหาชาติทุกวัดพอถึงเดือน 4 ก็จะมีการเทศน์มหาชาติชาวอีสานนิยมเรียกว่า "บุญผเวส" (พระเวสสันดร) มีคำพังเพยว่า
"เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่เดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มะที (มัทรี)" แต่การกำหนดเวลาก็ไม่ถือเด็ดขาดอาจจะเป็นปลายเดือนสามหรือต้นเดือนห้าก็ได้การเทศน์มหาชาติของอีสานผิดจากภาคกลางหลายอย่างเช่นการนิมนต์เขาจะนิมนต์พระวัดต่างๆ 10-20 วัดมาเทศน์โดยแบ่งคัมภีร์ออกได้ถึง 30-40 กัณฑ์เทศน์ตั้งแต่เช้ามืดและให้จบในวันเดียวพระในวัดถ้ามีมากก็จะเทศน์รูปละกัณฑ์สองกัณฑ์ถ้าพระน้อยอาจจะเทศน์ถึง 5 กัณฑ์การแบ่งซอยให้เทศน์หลายๆกัณฑ์ก็เพื่อให้ครบกับจำนวนหลังคาบ้านถ้าหมู่บ้านนี้มี 80 หลังคาเรือนก็อาจจะแบ่งเป็น 80 กัณฑ์โดยรวมเอาเทศน์คาถาฟันมาลัยหมื่นมาลัยแสนฉลองมหาชาติด้วยเพื่อให้ครบจำนวนโยมผู้เป็นเจ้าของกัณฑ์แต่บางบ้านอาจจะขอรวมกับบ้านอื่นเป็นกัณฑ์เดียวกันก็ได้และเวลาพระเทศน์ก็จะมีกัณฑ์หลอนมาถวายพิเศษอีกด้วยคือหมู่บ้านใกล้เคียงจะรวบรวมกัณฑ์หลอนคล้ายผ้าป่าสมัยนี้แห่เป็นขบวนกันมามีปี่มีกลองก็บรรเลงกันมาใครจะรำจะฟ้อนก็เชิญแห่รอบศาลาการเปรียญ 3 รอบแล้วก็นำไปถวายพระรูปที่กำลังเทศน์อยู่ขณะนั้นเลยเรียกว่ากัณฑ์หลอนเพราะมาไม่บอกมาโดนใครก็ถวายรูปนั้นไปเลยเรื่องกัณฑ์หลอนนับเป็นประเพณีผูกไมตรีระหว่างหมู่บ้านได้ยิ่งดีเพราะเรามีเทศน์เขาก็เอากัณฑ์หลอนมาร่วมเขามีเราก็เอาไปร่วมเป็นการสนองมิตรจิตมิตรใจซึ่งกันและกันได้ทั้งบุญได้ทั้งมิตรภาพได้ทั้งความสนุกเฮฮารำเซิ้งแม้แต่ในหมู่บ้านนั้นเองก็มีกลุ่มหนุ่มสาวกลุ่มบ้านเหนือกลุ่มคนแก่กลุ่มขี้เหล้าหรือกลุ่มอะไรก็ได้ร่วมกันทำกัณฑ์หลอนขึ้นแห่ออกไปวัดเป็นการสนุกสนานใครใคร่ทำทำมีเงินทองข้าวของจะบริจาคได้ตลอดวันจึงเห็นบุญมหาชาติของอีสานเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ประจำปีและถือกันว่าต้องทำทุกปีด้วย อนึ่งก่อนวันงาน 5-6 วันหนุ่มสาวจะลงศาลานำดอกไม้ประดับตกแต่งศาลาบริเวณวัดเป็นโอกาสที่หนุ่มจะได้คุยกับสาวช่วยสาวทำดอกไม้สนุกสนานที่สุดนี้แหละคืออีสานที่น่ารัก ![]() เดือนห้า ทำบุญตรุษสงกรานต์ ประเพณีนี้ทำเหมือนๆกับภาคกลาง จะต่างกันก็ในเรื่องการละเล่นหรือการรดน้ำ สาดน้ำ สีกาอาจจะสาดพระสาดเณรได้ ไม่ถือ พระบางรูปกลัวน้ำถึงกับวิ่งก็มี บางแห่งสาวๆตักน้ำขึ้นไปสาดพระเณรบนกุฏิก็มี แต่การเล่นสาดน้ำนี้ไม่สาดเฉพาะวันตรุษเท่านั้น ระยะใกล้ๆกลางเดือนห้าสาดได้ทุกวัน บางปีเลยไปถึงปลายเดือนก็มีถ้าอากาศยังร้อนมากอยู่ นอกจากนี้ยังมีประเพณีสรงน้ำพระพุทธและพระสงฆ์ด้วย คือระยะกลางเดือนห้าอากาศร้อน สาวๆจะตักน้ำไปวัดสรงพระคือให้พระอาบและสรงพระพุทธรูปด้วย เมื่อประมาณ 30 ปีมานี้ ทุกวัดจะมีหอสรงอยู่ คือถึงเทศกาลนี้ก็อัญเชิญพระพุทธรูปไปตั้งในหอ ให้ชาวบ้านมาสรงกัน อากาศร้อนๆ เด็กๆ ก็ชอบเข้าไปเบียดกันใต้หอสรงรออาบน้ำสรงพระ ขลังดี ล้างโรคภัยได้ หอสรงเป็นไม้กระดานน้ำไหลลงใต้ถุนได้ เด็กก็เลยได้อาบน้ำสนุกสนานไปด้วย
![]() เดือนหกทำบุญวิสาขบูชาและบุญบั้งไฟนอกจากนี้ก็มีพิธีรดน้ำพระสงฆ์ยกฐานเป็นยาซายาครูสำเร็จและบวชลูกหลาน
![]() เดือนเจ็ด ทำบุญติดปีติดเดือน เรียกว่าทำบุญด้วยเบิกบ้าน ทำพิธีเลี้ยงมเหศักดิ์หลักเมือง เลี้ยงผีบ้านซึ่งเรียกว่าปู่ตา หรือตาปู่ ซึ่งเป็นผีประจำหมู่บ้าน และเรียกผีประจำไร่นาว่า "ผีตาแฮก" คือก่อนจะลงทำนาก็เซ่นสรวงบูชาเจ้าที่ผีนาก่อนเป็นการแสดงความนับถือรู้บุญคุณ เดือนแปดทำบุญเข้าพรรษาเหมือนกับภาคกลางแต่มีความนิยมพิเศษคือชักชวนชาวบ้านให้นำขี้ผึ้งมาร่วมกันหล่อเทียนเช่นเดียวกับธรรมเนียมหลวงมีการถวายเทียนพรรษา เดือนเก้าทำบุญข้าวประดับดินกำหนดเอาวันแรม 14 ค่ำเดือน 9 ประชาชนหาอาหารหมากพลูบุหรี่ห่อด้วยใบตองไปวางตามยอดหญ้าบ้างแขวนตามกิ่งไม้บ้างและใส่ไว้ตามศาลเจ้าเทวาลัยบ้างวัตถุประสงค์เพื่ออุทิศให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้วต่อมานิยมทำบุญตักบาตรและกรวดน้ำอุทิศกุสลตามแบบพุทธแต่มีผู้ใหญ่บางท่านว่าบุญประดับดินนี้เป็นพิธีระลึกถึงคุณของแผ่นดินมนุษย์ได้อาศัยแผ่นดินอยู่และทำกินพอถึงเดือน 9 ข้าวปลาพืชผลกำลังเจริญชาวบ้านจึงทำพิธีขอบคุณแผ่นดิน เดือนสิบทำบุญเข้าสาก (สลากภัต) ทำในวันเพ็ญเดือน 10 เป็นการทำบุญให้เปรตโดยแท้ระยะห่างจากบุญประดับดิน 15 วันบางท่านว่าเป็นการส่งเปรตคือเชิญมารับทานวันสิ้นเดือน 9 และเลี้ยงส่งในกลางเดือน10 บางถิ่นเวลาทำบุญมีการจดชื่อของตนใส่ไว้ที่และเขียนสลากใส่ลงในภาชนะบาตรด้วยเมื่อพระเณรรูปได้รับสลากนั้นก็เรียกพานยกเจ้าของไปถวาย
เดือนสิบเอ็ดทำบุญออกพรรษาเมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้วทำพิธีปวารณาตามวัดต่างๆจุดประทีปโคมไฟสว่างไสวใช้น้ำมะพร้าวบ้างน้ำมันละหุ่งบ้างน้ำมันหมูบ้างใส่กระป๋องหรือกะลามะพร้าวจุดตั้งหรือแขวนตามต้นไม้ตลอดคืนบางคนก็ตัดกระดาษทำรูปสัตว์หรือบ้านเล็กๆจุดไฟไว้ข้างในเป็นการประกวดฝีมือในเชิงศิลปในตัวอย่างสนุกสนานรุ่งเช้าก็มีการทำบุญตักบาตรเทโวบางวัดมีการกวนข้าวทิพย์และบางวัดก็มีการแข่งเรือด้วย เดือนสิบสอง ทำบุญกฐิน (กฐินเริ่มแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงกลางเดือน 12) มีการจุดพลุตะไลประทัดด้วย ส่วนวัดใดอยู่ริมแม่น้ำก็มีการแข่งเรือกัน เรียกว่า "ซ่วงเฮือ" เพื่อบูชาอุสุพญานาค 15 ตะกูล รำลึกถึงพญาฟ้างุ่มที่นำพระไตรปิฎกขึ้นมาจากเมืองอินทปัตถะ (เขมร) บรรณานุกรม สิริวัฒน์ คำวันสา. อีสานคดี เนื่องในงานการละเล่นพื้นบ้าน. คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2521
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |